โสต ศอ นาสิกแพทย์ดีเด่น ประจำปี 2564
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ ศรีสมบูรณ์
ประเภท ครูแพทย์
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, Diplomate American Board of Otolaryngology. Postdoctoral Fellow in Otology (Baylor College of Medicine, Houston, Texas , U.S.A.), หนังสืออนุมัติสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา (แพทยสภา), FAAO-HNS, F.I.C.S., F.A.C.S.
หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญ
- ผู้ก่อตั้งหลักสูตรการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาโสต ศอ นาสิก วิทยา (พ.ศ.2514), นายกสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย, ประธานอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบวุฒิบัตร สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยาของแพทยสภา, กรรมการผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้บริหารสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย. กองบรรณาธิการจดหมายเหตุทางการแพทย์, รองหัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (6 มกราคม 2540 - 30 กันยายน 2541)
ผลงานในสาขาวิชาชีพ
- ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารต่างประเทศ 5 เรื่อง ในประเทศ 15 เรื่อง, นำการผ่าตัดแผนใหม่มาผ่าตัดเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลศิริราชในหลายหัตถการ, ได้ทำการผ่าตัด Stapedectomy มากกว่า 500 ราย เป็นผู้ที่ทำการผ่าตัดชนิดนี้มากที่สุดในประเทศไทย
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชานุญาตให้เดินทางไปถวายการรักษา His Majesty King Birendra Bir Bikram Shah Dev. พระราชาธิบดีของราชอาณาจักรเนปาล ใน Royal Palace, Kathmandu, Nepal วันที่ 20–25 ธันวาคม 2530
ศาสตราจารย์คลินิกแพทย์หญิงจีระสุข จงกลวัฒนา
ประเภท ครูแพทย์
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต (ศิริราชพยาบาล), ว.ว. โสต ศอ นาสิกวิทยา, fellowship in laryngology laser surgery and phonosurgery (Vanderbilt university)
การทำงาน
- เริ่มเป็นอาจารย์ที่รพ.ศิริราชในปี พ.ศ.2530 โดยรับมอบหมายให้ดูแลด้านการผ่าตัดศีรษะ คอ และกล่องเสียงเป็นหลัก มีส่วนสำคัญในการการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะและแพทย์สภา, มีส่วนในการเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้านอย่างต่อเนื่อง, เป็นรองหัวหน้าภาคฝ่ายการศึกษาและฝึกอบรม และประธานกรรมการบริหารงานด้าน การศึกษาและฝึกอบรมปี พ.ศ.2548 – 54 และในช่วงที่เป็นเป็นหัวหน้าภาควิชา พ.ศ.2554 – 59
- เป็นต้นแบบของอาจารย์ผู้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ให้กับการดูแลรักษาผู้ป่วยและการเรียนการสอน เป็นที่ปรึกษาดูแลผู้ป่วยจากแพทย์ประจำบ้านและอาจารย์ ไม่ว่ายามเช้าตรู่ ยามสาย ยามบ่าย หรือยามวิกาล อาจารย์จะมีคำตอบและยินดีมาช่วยเสมอ จนมีผู้กล่าวไว้ว่า "คิดอะไรไม่ออก บอกอาจารย์ก้อย"
นายแพทย์ภักดี สรรค์นิกร
ประเภท ครูแพทย์
ประวัติการศึกษา
- วิทยาศาสตร์บัณฑิต (มหาวิทยาลัยขอนแก่น), แพทยศาสตร์บัณฑิต (มหาวิทยาลัยขอนแก่น), ป.ชั้นสูง สาขาโสต ศอนาสิก (มหาวิทยาลัยมหิดล), ว.ว. โสต ศอ นาสิกวิทยา (ราชวิถี), ป.การผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์ (Kagoshima University
การทำงาน
- ด้านบริหาร: หัวหน้ากลุ่มงานโสต ศอ นาสิก กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก, นายแพทย์เชี่ยวชาญ
- ประธานราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย, President of ASEAN Federation of Oto Rhino - langgology Head and Neck Surgery
- รองประธานมูลนิธิ หู-คอ-จมูกชนบท
- ประธานชมรมแพทย์มะเร็งศีรษะและลำคอแห่งประเทศไทย
ด้านบริการสังคม
- ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่, อาสาสมัครในโครงการเพื่อคนพิการ (IMPACT), ออกหน่วยคืนเสียงสู่โสต, คัดกรองตรวจรักษา ผ่าตัดหูและฟื้นฟูสภาพทางการได้ยินเทิดพระเกียรติ 80 ชันษา สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ และออกหน่วยบริการอื่น ๆ มากกว่า 30 ปี
ด้านวิชาการ
- อาจารย์ภาควิชาโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี
- อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รางวัลที่ได้รับ
- รางวัลข้าราชการดีเด่น ครุฑทองคำ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558
- รางวัลคนดีศรีสาธารณสุข ปี 2559
รองศาสตราจารย์นายแพทย์คณิต มันตาภรณ์
ประเภท วิชาการและวิจัย
ประวัติการศึกษา
- MBBS พศ. 2518 (Guy’s Hospital Medical School, University of London), FRCS (Otolaryngology) พศ. 2526 (Royal College of Surgeons of England), อว. สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา (FRCOT) 13 สค. พศ. 2530 (แพทยสภา),Resident in surgery at London University and Resident in otolaryngology at Royal National Throat Nose & Ear Hospital
การทำงาน
- ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อาจารย์พิเศษ และที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์โรคการนอนหลับ ภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานดีเด่นในการเป็นผู้บุกเบิกในเวทีสากล หรือในเวที ASEAN
- ผู้บุกเบิก Endoscopic skull-base tumor surgery, total lacrimal duct reconstruction และ Mini-anterior frontal sinusotomy and double trephination ในเวทีสากล (international), ผู้ร่วมบุกเบิก Lateral-based pericranial flap reconstruction ในเวทีสากล (international), ผู้บุกเบิก Functional endoscopic sinus surgery และ Endoscopic dacryocystorhinostomy ในเวที ASEAN, ผู้บุกเบิก Sleep surgery และ Sleep medicine ในเวที ASEAN
ผลงานทางวิชาการ
- มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารและหนังสือการประชุมในทุกแขนงของโสต ศอ นาสิกวิทยา เป็นจำนวนมาก ได้แก่ audiology and otology 11 เรื่อง endoscopic sinus surgery 29 เรื่อง head and neck surgery 15 เรื่อง ophthalmology 14 เรื่อง pediatric 4 เรื่อง rhinology 64 เรื่อง skull-base disease 26 เรื่อง sleep medicine and surgery 35 เรื่อง และอื่นๆอีก 14 เรื่อง รวมถึงยังได้แต่งหนังสือ ตำรา ทั้งหมด 3 เล่ม เป็นบรรณาธิการหนังสือ 2 เล่ม รวมถึงแต่ง book chapter อีกประมาณ 17 บท
- นอกจากนี้ยังได้รับเชิญให้เป็น speaker และ lecturer ในงานระดับนานาชาติมากมาย ในหลากหลายโอกาส รวมๆแล้วเป็นจำนวนมากถึง 14 ครั้ง
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงขวัญชนก ยิ้มแต้
ประเภท วิชาการและวิจัย
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตรบัณฑิต (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) และว.ว. โสตศอนาสิกวิทยา (ศิริราช), Certificate of Postdoctoral Research Fellowship (University of California, San Diego, USA)
การทำงาน
- ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา, ผู้อำนวยการสถานบริหารจัดการงานวิจัยทางคลินิก (ACRO) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, Director at Khon Kaen Ear, Hearing, and Balance Center (Hearing International Center), ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการด้านหู สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กรรมการร่างมาตรฐานเครื่องช่วยฟัง, กรรมการพัฒนาระบบทะเบียนผู้พิการแห่งชาติ, อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความเชี่ยวชาญสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา, ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะที่ 4 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, กรรมการอำนวยการโครงการศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติ, Surveyor ของ SIDCER-PABIN และ SIDCCER-FERCAP และอดีตเคยเป็นที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก ด้านจริยธรรมการวิจัยในปี พ.ศ. 2554 (WHO-Research Ethics Committee)
ผลงานทางวิชการ
- ผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ 33 เรื่อง ในประเทศ 19 เรื่อง หนังสือ 7 เล่ม รวมทั้งผลงานด้าน ลิขสิทธิ์ 2 ชิ้น รวมถึง อนุสิทธิบัตร อีก 1 ชิ้น
รางวัลที่เคยได้รับ
- รางวัลพระราชทานทุนส่งเสริมบัณฑิตสาขาแพทยศาสตร์ ประจำปี พ.ศ.2545-2547 (มูลนิธิอานันทมหิดล) ผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2547
รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์นายแพทย์หม่อมหลวงกรเกียรติ์ สนิทวงศ์
ประเภท วิชาการและวิจัย
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), ว.ว. โสตศอนาสิกวิทยา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Clinical Fellowship in Rhinology and Skull Base Surgery (Macquarie University), Ph.D. (Macquarie University)
การทำงาน
- ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาควิชาโสตศอนาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส หัวหน้าฝ่ายผู้ป่วยนอก และผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, กรรมการบริหารสมาคมแพทย์โรคจมูก (ไทย) ด้านวิเทศสัมพันธ์, อนุกรรมการด้านโรคจมูก ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์, กรรมการบริหาร ASEAN Rhinologic society, กรรมการบริหาร The Asia Pacific Otorhinolaryngologic Surgical Training Group และอดีตเลขาธิการมูลนิธิหูคอจมูกชนบท
- นอกจากนี้ยังเป็นบรรณาธิการวารสาร Cochrane ENT บรรณาธิการบริหารวารสาร International Forum of Allergy &Rhinology บรรณาธิการบริหารวารสาร Australian Journal of Otolaryngology และอดีตบรรณาธิการวารสารหูคอจมูกและใบหน้า
- ปัจจุบันมี h-Index 25 มีผลงานตีพิมพ์ บทความในวารสารวิชาการ 97 เรื่อง ได้รับการอ้างอิงจากงานวิจัยอื่น 2601 เรื่อง บทความในหนังสือภาษาไทย 7 เรื่อง บทความในหนังสือภาษาอังกฤษ 2 เรื่อง
รางวัลที่เคยได้รับ
- Research award highly commended (Macquarie University)
- The Inaugural PJ Wormald Prize (Australasian Rhinologic Society)
- รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอนระดับดีเด่นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายแพทย์เดชา กล้าเชี่ยว
ประเภท บริการทางคลินิก
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, ว.ว. โสต ศอ นาสิกวิทยา (ราชวิถี)
ประวัติการทำงาน
- ปฏิบัติงานที่รพ.คำชะอี จ.นครพรม ต่อมาแยกเป็น จ.มุกดาหาร
- เป็นที่ปรึกษาในระดับจังหวัด ในการดูแล รพ.ชุมชน ประจำอำเภอต่าง ๆ ใน จ.มุกดาหาร
- เป็นกรรมการร่วมพัฒนาชาติไทยนำมาสู่ การสงบศึกภายในประเทศไทยตามนโยบาย 66/2523
- ปฏิบัติงานที่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ตั้งแต่ปี 2532-2559
- ทำงานดูแลรักษาคนไข้ หู คอ จมูก และทำงานร่วมกับ แพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง ในการรักษาคนไข้ มะเร็งทางหู คอ จมูก
- หัวหน้ากลุ่มงานโสต ศอ นาสิก
- ประธานองค์กรแพทย์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์
- อาจารย์แพทย์ ประจำกลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สังกัด ศูนย์แพทยศาสตร์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
- หลังเกษียณ ยังทำงานในกลุ่มงานโสต ศอ นาสิก จนถึงปัจจุบัน
รางวัลที่เคยได้รับ
- รางวัลปิดทองหลังพระ ปี 2563 จาก รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ได้รับเมื่อ 24 กันยายน 2563
นายแพทย์ศัลยเวทย์ เลขะกุล
ประเภท บริหารและสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ
ประวัติการทำงาน ตำแหน่งหน้าที่และผลงาน
- 2507 แพทยศาสตร์บัณฑิตรุ่น 14 (จุฬาลงกรณ์)
- 2514 Diplomate American Board of Otolaryngology – Head and Neck Surgery
- อาจารย์ภาควิชาโสตศอนาสิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- เป็นผู้ก่อตั้งและร่วมงานในตำแหน่งเลขาธิการ "มูลนิธิหูคอจมูกชนบท"
- นายกสมาคม โสตศอนาสิกลาริงซ์วิทยา
- ประธาน ราชวิทยาลัยโสตศอนาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย
- กรรมการบริหาร ราชวิทยาลัยโสตศอนาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย (ต่อเนื่องมาตลอด 30 ปี)
- ประธานคณะจัดทำ”หนังสือประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย”ของแพทยสภา เฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
งานสร้างเกียรติประวัติ
- ก่อตั้งและนำคณะแพทย์หูคอจมูก ช่วยมูลนิธิหูคอจมูกชนบท ออกรักษาผ่าตัดโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง ในรพ.ในชนบททั่วประเทศ และในต่างประเทศเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลา 50ปี ได้ออกหน่วยหูคอจมูกชนบทรักษาผ่าตัดโรคหูน้ำหนวกเป็นประจำทุกเดือนในเมืองไทย พม่า บังกลาประเทศ อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ เวียดนาม กัมพูชา ลาว ร่วมกับกรมวิเทศสหการ ก.ต่างประเทศ
- Citation Award for The Rural ENT Project จาก WHO
- องค์การสหประชาชาติ UNDP เชิญแพทย์หูคอจมูกไทย (ศัลยเวทย์-สุนทร)สาธิตการผ่าหูในชนบทรัฐ Gujarat ตะวันตกสุดอินเดีย และยังเชิญให้เข้าร่วมการสัมมนา งานป้องกันหูหนวกหูตึง สำหรับทวีป Africa ที่ประเทศ Kenya
- เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิร่วมรณรงค์ป้องกันความพิการ Impact Thailand Foundation
- สหประชาชาติเชิญให้นำทีม คณะแพทย์ ENT ไทย ไปผ่าตัดหู 361 รายใน 18 เมืองในประเทศ Kenya
- สหประชาชาติ UNDP มาถ่ายทำ ภาพยนต์สารคดียาว15นาที "Dr.Lekagul’s Long Road" แปลเป็น 5ภาษา ออกเผยแพร่ไปใน 70ประเทศ
- ร่วมพัฒนาผลิต Digital Screening Audiometer ได้มาตรฐาน 600 เครื่อง ร่วมกรมอนามัย ออกตรวจเด็กวัยเรียน ใน600อำเภอทั่วประเทศ
- Reader’s Digest Magazine ได้ลงเรื่อง "Dr.Sal’s Gift" การออกหน่วยทำงานผ่าหูชนบทหมอ ENT ไทย
รางวัลต่างๆ
- ศัลยแพทย์ดีเด่น ของ International College of Surgeons ในการประชุมใหญ่นานาชาติที่กรุงเทพ
- Humanitarian Award ของ Lions International ในการประชุม Asian Congress ที่กรุงเทพ
- Distinguished Award for Humanitarian Efforts”ที่กรุงวอชิงตัน ครบรอบ100ปี American Academy Otolaryngology
- Presidential Citation Award ประชุมใหญ่แพทย์หูคอจมูกอเมริกา American Academy Otolaryngology
- Mahidol University B.Braun Prize for Medicine and Public Health of Thailand. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์
- The 48 Most Venerable Physicians ในงาน 48 ปีแพทยสภา 48 ปูชนียแพทย์
รางวัลพระราชทาน
- คนไทยตัวอย่าง ของมูลนิธิธารน้ำใจ จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
- หน่วยงานดีเด่นเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขในชนบท จาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- แพทย์จุฬาดีเด่น สาขาการแพทย์ชุมชน จาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- สนับสนุนงานแพทย์อาสา มูลนิธิ พอ.สว. จาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จุฬาลงกรณ์ จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข
ประเภท บริหารและสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต Southwestern University Philippines, อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยาแพทยสภา, Fellow of The International College of Surgeons (F.I.C.S), อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวอนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน
ประวัติการทำงาน
- อดีต : ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, อธิบดีกรมควบคุมโรค, อธิบดีกรมสุขภาพจิต, อธิบดีกรมอนามัย, ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี, ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา
- ปัจจุบัน : คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา-สายพันธุ์ใหม่ 2019 กระทรวงสาธารณสุข, ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม, กรรมการองค์การเภสัชกรรม, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม, คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
นายแพทย์ธวัชชัย เศรษฐศุภพนา
ประเภท บริหารและสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต (Lyceum North Western University ประเทศฟิลิปปินส์ ), ว.ว. โสตศอนาสิกวิทยา (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)
ประวัติการทำงาน
- ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
- คณะกรรมการที่ปรึกษาคดีทางแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย และพัฒนาศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุข
- เลขานุการคณะทำงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขา 5 สาขาหลัก ปี2559
- ประธานคณะกรรมการ PA TB ของเขตบริการสุขภาพที่ 2
- ที่ปรึกษาแม่สอดมูลนิธิสามัคคีการกุศล
- ทำงานเชื่อมโยงนโยบายสาธารณสุขชายแดนกับนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอดอย่างเป็นรูปธรรม จัดการระบบการเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนบริเวณชายแดนไทย เมียนมา ตามวิสัยทัศน์ "โรงพยาบาลแม่สอดเป็นศูนย์การแพทย์และการสาธารณสุขชายแดนชั้นนำในเขตสุขภาพพิเศษ" เพื่อเป็นปราการด่านหน้าในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และบริหารจัดการให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาลแม่สอดและเครือข่ายโรงพยาบาลในจังหวัดตากฝั่งตะวันตก
รางวัลที่เคยได้รับ
- รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น, รางวัลชัยนาทนเรนทร ระดับเขตสุขภาพที่ 2, รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, รางวัลแพทย์ดีเด่น โครงการพันธมิตรกำลังคนด้านสุขภาพภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (The Asia Pacific Action Alliance on Human Resources for Health, AAAH)
โสต ศอ นาสิกแพทย์ดีเด่น ประจำปี 2563
ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงฉวีวรรณ บุนนาค
ประวัติการทำงาน ตำแหน่งหน้าที่และผลงาน
- แพทยศาสตรบัณฑิต 2509 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล)
- ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
- หัวหน้าภาควิชา โสตฯภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2539-46
- ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (ประจำ ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา)
งานสร้างเกียรติประวัติ
- เป็นผู้ริเริ่ม และเป็นประธานจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Rhinology Update Course ร่วมกับ Free University of Brussels, ประเทศเบลเยี่ยม และจัดทำโครงการจัดเตรียม soft cadaver เพื่อใช้ในการฝึกผ่าตัดจมูก และไซนัส
- ริเริ่มจัดทำหลักสูตรแพทย์เฟลโลว์ สาขาวิชาโรคจมูก (นาสิกวิทยา) และโรคภูมิแพ้ขึ้น สำหรับโสต สอ นาสิกแพทย์ที่ได้วุฒิบัตรแล้ว และต้องการเพิ่มพูน ความรู้ ความสามารถด้านบริการ ตรวจรักษาผ่าตัด และทำงานวิจัยในสาขาวิชานี้
- ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งชมรม และต่อมาเป็นสมาคมโรคภูมิแพ้ และ อิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย โดยได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหาร และเหรัญญิก และเป็น นายกสมาคม ๒ สมัย
- เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง สมาคมแพทย์โรคจมูก (ไทย) และเป็นนายกสมาคม 2 สมัย
- ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารของราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย วาระปี 2556-58
- เป็นประธาน กรรมการและอนุกรรมการในคณะทำงานต่างๆมากมาย หลายคณะ หลายสาขา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยาย และ ประธานการประชุมวิชาการในการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติต่างๆมากมาย
- เป็น Advisory editorial board , Editorial Board และ Editor-in-Chief ของวารสารทาง rhinology และ allergy หลายฉบับ
รางวัลต่างๆ
- ได้รับรางวัลต่างๆมากมาย เช่น รางวัลอาจารย์ดีเด่นทางคลินิก; อาจารย์เป็นแบบอย่างดีเด่นในด้าน คุณธรรม; รางวัลบุคลากรดีเด่น, ศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชดีเด่น ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- รางวัลกลุ่มนักเทคโนโลยีดีเด่น จากผลงาน เรื่องการพัฒนาการผลิตไรฝุ่นสู่ภาคอุตสาหกรรม
- รางวัลหน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงไรฝุ่นจากงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน; โครงการวิทยาสาสตร์สู่ความเป็นเลิศจากผลงาน "จากงานวิจัยไรฝุ่นสู่เชิงพาณิชย์"
- รางวัล"มหิดลทยากร" เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดลที่ประกอบคุณงามความดี มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
รางวัลพระราชทาน
- รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาแพทยศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๐
- รับพระราชทานปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑
โสต ศอ นาสิกแพทย์ดีเด่น ประจำปี 2562
ศาสตราจารย์นายแพทย์อำนวย คัจฉวารี
ประเภท ครูแพทย์
การศึกษา
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙
- American Board of Otolaryngology จากประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. ๒๕๑๖
ประวัติการรับราชการและตำแหน่งหน้าที่
- อาจารย์ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๗-๒๕๑๙
- อาจารย์ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรกฎาคม ๒๕๑๙-๒๕๒๐
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๐
- รองศาสตราจารย์ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๔
- ศาสตราจารย์ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๔๙
- หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ – วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ประวัติการทำงานอื่น ๆ
- เลขาธิการสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๙
- อุปนายกสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๓
- กรรมการวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๔๑
- อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๔๒
- ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๘
- กรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๘
- ที่ปรึกษารัฐมนตรี ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๗
- กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะแพทยศาสตร์ จุฬากรณ์มหาวิทยาลัย
- ประธานคณะทำงานพัฒนายาหลักแห่งชาติ สาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๓
- บรรณาธิการวารสารหู คอ จมูก และใบหน้า พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๒
- กองบรรณาธิการ จ.พ.ส.ท. พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๒ และ พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๙
- Regional editiorial advisory board. Medex Asia
- อ.ก.ม. วิสามัญ เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๙
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาแพทยศาสตร์ ๑ สำนักงาน ก.พ. พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๙
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๐
- คณะกรรมการวิจัยโรคหู คอ จมูก คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๑
- สมาชิกนักวิจัยแห่งชาติ
ผลงานทางวิชาการ
- บทความทางการแพทย์ ๕๐ เรื่อง
- ตำราทางโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา ๒ เล่ม
- หนังสือโรคหู คอ จมูก (สำหรับประชาชน) ๑ เล่ม
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์
ประเภท บริการทางคลินิก
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2528
- ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา) พ.ศ. 2533
- วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา (แพทยสภา) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2534
ประวัติการทำงานและตำแหน่งหน้าที่
- นายแพทย์ 4 โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เมษายน พ.ศ.2528
- นายแพทย์ 5 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย กันยายน พ.ศ. 2535
- นายแพทย์ 8วช. ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลด้านการเงิน และด้านแผนงานและประเมินผล โรงพยาบาลราชวิถี พ.ศ. 2552 ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์เขต 9 กรมการแพทย์ พฤษภาคม พ.ศ. 2555
- รองผู้อำนวยการ กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี สิงหาคม พ.ศ. 2556
- ผู้อำนวยการสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข กันยายน พ.ศ. 2556
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ตุลาคม พ.ศ. 2558
- รองอธิบดีกรมการแพทย์ มีนาคม พ.ศ. 2562
ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพและสังคมเป็นที่ประจักษ์
- แนวทางการคัดกรองการได้ยิน จัดทำแนวทางฯให้เหมาะสมกับ บริบทของประเทศไทย รวมถึงการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องจัดทำ เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
- สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับ Philippine General Hospital ในการแลกเปลี่ยนวิทยาการด้านการแพทย์รวมถึงศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโสต ศอ นาสิก เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน
โสต ศอ นาสิกแพทย์ดีเด่น ประจำปี 2560
แพทย์หญิงสุนีย์ ตั้งสินมั่นคง
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (โครงการแพทย์ชนบท)
- วุฒิบัตรโสต ศอ นาสิกแพทย์ (แพทยสภา)
ประวัติการทำงานและตำแหน่งหน้าที่
- ปี2530 -2531 แพทย์ใช้ทุนโรงพยาบาลยะลา
- ปี 2531-2532 แพทย์ใช้ทุนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
- ปี2532 -2533 แพทย์ใช้ทุนอายุรกรรม โรงพยาบาลยะลา
- ปี 2536 ปัจจุบัน โสต ศอ นาสิกแพทย์ โรงพยาบาลยะลา
การทำงานและตำแหน่งหน้าที่ ณ โรงพยาบาลยะลา
- โสต ศอ นาสิกแพทย์ ตำแหน่งแพทย์เชียวชาญ ระดับ 9
- ประธานศูนย์คุณภาพความเสี่ยงปี 2542-2550
- ประธานกรรมการตรวจสอบภายในปี 2540-2550
- เลขาธิการองค์กรแพทย์ปี 2546-2550
- ประธาน PCT EENT ปี 2554-2557
- ประธานระบบยาปี 2554 -2558
- หัวหน้ากลุ่มงานหูคอจมูกปี 2554-2557
- รองผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกปี 2550-2557
- ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกตั้งแต่ตุลาคม 2557 – 31 มีนาคม 2560
นายแพทย์สุนทร อันตรเสน
การศึกษาและอบรม
- พ.ศ. 2509 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2512 ประกาศนียบัตรกุมารศัลยแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2515 Certificate in BronchoLaryngology, Temple University, Philadelphia (USA)
- พ.ศ. 2516 Certificate in Soft Tissue Surgery, Mount Sinai Hospital (USA)
- พ.ศ. 2517 Certificate in Basic Science, New York University (USA)
- พ.ศ. 2518 Certificate in Surgery of the Paranasal Sinuses Mount Sinai Hospital (USA)
- พ.ศ. 2518 Diploma in Otolaryngology, Brooklyn Eye and Ear Hospital, New York (USA) (2515-2518)
- พ.ศ. 2518 วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
- จากแพทยสภา
- พ.ศ. 2525 จิตวิทยาความมั่นคง (รุ่นที่ 36) สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง กรมยุทธการทหาร
- พ.ศ. 2526 นักบริหารชั้นสูง (รุ่นที่ 50) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- พ.ศ. 2527 การวิจัยเชิงระบาดวิทยา องค์การอนามัยโลก
รางวัล (Award)
- พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่น จาก สมาคมศัลยแพทย์นานาชาติ
- พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัล Humanitarian Awards จาก The American Academy of Otolaryngology-Head and Neck Surgery ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2543 ได้รับรางวัล บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการพัฒนาสังคม (ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต) จากคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์: ม.ว.ม. และ ม.ป.ช.
ตำแหน่งสำคัญที่ได้รับแต่งตั้ง (Previous Appointments)
- ประธานการจัดประชุม The ENT Thai-Japan Clinical Conference กรุงเทพฯ ครั้งที่ 1 5
- ประธานการจัดประชุม The Indochinese Conference on Deafness Problem กรุงเทพฯ
- เป็นกรรมการในองค์กรทางการแพทย์ระดับนานานชาติหลายแห่ง
- ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นการแพทย์ (Social science) เพื่อเข้า แข่งขันรับรางวัล Leon Bernard Foundation Prize ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าแข่งขันรับรางวัลแมกไซไซ
- ได้รับเชิญจากองค์การ UNICEF ในการประชุม The National Seminar on Hearing Impaired Children
ผลงานที่โดดเด่น
- ผู้เริ่มโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อรักษาโรคหู ทั้งยังร่วมออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร เวียดนาม จีน อินเดีย บังคลาเทศ ภูฏาน เคนยา จนกระทั่งปัจจุบันโครงการนี้ดำเนินการมาร่วม 40 ปีและยังดำเนินการอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- ก่อตั้งกลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านด้านโสต ศอ นาสิก มานานกว่า 30 ปี ผลิตโสต ศอ นาสิกแพทย์ออกมาทำงานในภาคส่วนต่างๆ
- เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาจากสถาบันต่างๆได้แก่ โรงพยาบาลในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ในเครือข่ายกระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ หลายสถาบัน รวมถึงในต่างประเทศ
- ผลงานทางวิชาการมากมาย ตามวารสารวิชาการต่างๆ รวมถึงได้รับทุนโครงการวิจัยจากหลายสถาบัน อาทิเช่น มูลนิธิคนหูหนวกแห่งประเทศไทย Ministry of Education and Science ประเทศญี่ปุ่น องค์การอนามัยโลก องค์การ UNICEF
ศ.เกียรติคุณ พญ.สุจิตรา ประสานสุข
ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตรบัญฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2507
- Diploma in Oto-rhino-laryngology (DLO) ผู้เชี่ยวชาญสาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
- มหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย พ.ศ. 2512
- มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2515
- ประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาโสตประสาท การได้ยิน - Certificate of Proficiency
- มหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย พ.ศ. 2512
- มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2515
- ดูงานและศึกษาต่อในสาขาวิชาโสตประสาทวิทยา ณ ประเทศเดนมาร์ก, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย และ สวีเดน
- วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา พ.ศ. 2516. ประเทศไทย แพทยสภา
- Fellow of International College of Surgeons (FICS) 2520
- Elected Member of Collegium ORL Amicitiae Sacrum 2531
- Honorary Fellowship The Royal College of Surgeons of England (FRCS) 2552
ประวัติการทำงาน
- รับราชการเป็นอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2510
- เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์คลินิก ตามลำดับ
- เกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2542 รวมเป็นเวลา 32 ปี
- เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการศูนย์โสตประสาท การได้ยิน กรุงเทพฯ ตั้งแต่ก่อตั้ง พศ. 2525 จน เกษียณอายุราชการ ผลงานการได้รับเลือกให้เป็นศูนย์ประสานงานเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาหูหนวก หูตึง และโรคหู จากสหพันธ์โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งโลก และสมาคมโสต สัมผัส นานาชาติ พ.ศ. 2528 และได้รับการแต่งตั้งเป็นศูนย์ประสานงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2531 และศูนย์แห่งประเทศไทยขององค์กรเพื่อการได้ยินนานาชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน
- ได้รับพระราชทานตำแหน่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ 2544
- ได้รับพระราชทานตำแหน่ง ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ 2544
- ศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ คลินิก 2542
- ประธานองค์กรเพื่อการได้ยินนานาชาติ ตั้งแต่ปี พศ. 2542 ถึง 2551 และ 2552 ถึงปัจจุบัน
- ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก โครงการรณรงค์ป้องกันหูหนวกหูตึงและโรคหู
- ผู้อำนวยการศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัว เสียงในหู โรงพยาบาลกรุงเทพ
- ประธานสหพันธ์สมาคม โสต ศอนาสิก ลาริงซ์แพทย์แห่งเอเชียและโพ้นทะเล 2 สมัย 8 ปี
ผลงานในระดับชาติ
- เป็นผู้เชี่ยวชาญโสตประสาทการได้ยินคนแรกของประเทศไทย
- เป็นผู้ให้กำเนิด หน่วยโสตประสาท ณ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งแต่ปี พศ. 2516 และนำเครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัยในการตรวจวินิจฉัย ให้การรักษา และฟื้นฟู บำบัด ปัญหา ทางการได้ยิน การเสียการทรงตัว ปัญหาหูหนวก หูตึง และโรคหู สู่ประเทศไทยเป็นคนแรก ปัจจุบันการบริการผู้มีปัญหาหูหนวกหูตึงและโรคหู โรคเวียนศีรษะ โดยนำเทคโนโลยี ระดับนานาชาติมาใช้เป็น ครั้งแรก ได้รับการแต่งตั้งเป็น ศูนย์ประสานงานของสหพันธ์โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งโลก และของสมาคมโสสัมผัสนานาชาติ ชื่อ ศูนย์โสตประสาท การได้ยิน กรุงเทพ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช (Otological Center: Bangkok Unit) ในปี พศ. 2528 และต่อมา ได้รับการแต่งตั้ง จากองค์การอนามัยโลก พศ. 2531 ป็นศูนย์ประสานงานเพื่อการรณรงค์แก้ไขปัญหาหูหนวกหูตึงและโรคหู และในปี พศ. 2535 ไดรับการแต่งตั้งเป็นศูนย์ขององกรณ์เพื่อการได้ยินนานาชาติ ทำ การฝึกอบรม ทั้งระดับประเทศ และระดับภูมิภาค เป็นประจำทุกปี เป็นที่ยอมรับถึงระดับนานาชาติ ได้อบรมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ เป็นประจำทุกปี สามารถช่วยการวินิจฉัย และฟื้นฟูบำบัดผู้พิการทางการได้ยินและการทรงตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เป็นผู้จัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ออกให้บริการยังชุมชนผู้ด้อยโอกาส ตรวจรักษาโรคหู แก้ไขปัญหาบกพร่องทางการได้ยิน ให้เครื่องช่วยฟัง ในกว่า 40 จังหวัด ทั่วประเทศไทยโดยไม่คิดมูลค่า ในนามศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพ ขององค์การอนามัยโลก และสหพันธ์โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งโลกสำนักงาน ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช มีผู้เข้ารับบริการหลายหมื่นคน
ได้รับรางวัลระดับชาติ
- ได้รับรางวัล ศิษย์ ศิริราชดีเด่น จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2539
- ได้รับรางวัล แพทย์สตรีดีเด่นจากสมาคมแพทย์สตรีในพระบรมราชินูปภัมภ์ ผู้มีผลงานเพื่อสังคมไทย พ.ศ. 2538
- ได้รับเกียรติบัตร และเข็มทองคำ บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ด้านการแพทย์ จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์แห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2538
- ได้รับรางวัล บุคคลดีแห่งชาติผู้สร้างเสริมสังคมไทย จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย และหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ 2543
- ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นในการเสริมสร้างสัมพันธ์ไมตรีอันดีระหว่างประเทศ จากสมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ 2547
ผลงานและรางวัล ระดับนานาชาติ
- Gold Medal Award of Achievement in contribution to Oto-Rhino-Laryngology Worldwide from IFOS -International Federation of Otorhinolaryngological Societies1996
- Award of Recognition as Member of Prestige ORL Society – The Collegium ORL Amiciatae Sacrum 1995
- IFOS : Global Ear Care - First Ever Award of Achievement 2000
- Award Fellowship of Royal College of Surgeons of England 2009
ผลงานระดับนานาชาติ และการสร้างเสริมสัมพันธ์ไมตรีอันดีระหว่างประเทศ
- เป็นผู้ก่อตั้งสหพันธ์โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งอาเซียน พ.ศ. 2523 และเป็นเลขาธิการสหพันธ์ จนถึง รองประธานและประธานสหพันธ์ในเวลาต่อมา ขณะนี้เป็นกรรมการก่อตั้งถาวร
- เป็นกรรมการบริหารคนแรกที่เป็นสตรีของสหพันธ์โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งโลก 2 สมัย เป็นเวลา 8 ปี และได้เป็นผู้บุกเบิกงานรณรงค์แก้ไขปัญหาหูหนวก หูตึง และโรคหูระดับนานาชาติ จนผลงานเป็นที่ประจักษ์ได้รับรางวัล เหรียญทองประกาศเกียรติคุณ IFOS Gold Medal Award 2536
- เป็นผู้สร้างผลงานดีเด่น ในวิชาการ โสต ประสาทการได้ยิน ระดับโลก และได้รับประกาศเกียรติคุณ Global Ear Care Achievement Award 2535
- ได้รับเกียรติแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาถาวร (Counselor of IFOS) ของสหพันธ์โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งโลก 2540
- เป็นประธาน สมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งเอเซียและโพ้นทะเล 2 สมัย รวม 8 ปี
- ได้รับรางวัล Achievement Award มีผลงานสร้างสรรค์ และ พัฒนาวิชาการ โสต ศอ นาสิก ในภูมิภาคให้เป็นที่ประจักษ์ จาก สมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งเอเซียและโพ้นทะเล
- ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมแพทย์เพื่อการได้ยิน นานาชาติ International Association of Physicians in Audiology (IAPA) 2527
- เป็นผู้ก่อตั้ง, เป็นเลขาธิการ เป็นรองประธาน และปัจจุบันเป็นประธานองค์กรเพื่อการได้ยินนานาชาติ (Hearing International Inc.) ที่มีเครือข่ายเป็นศูนย์ประสานงานเพื่อการได้ยินดีถ้วนหน้าของมนุษยชาติ โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนา 21 แห่งทั่วโลก ตั้งแต่พ.ศ. 2535
- เป็นที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกเพื่อวางมาตรการการรณรงค์แก้ไขปัญหาหูหนวก หูตึง และโรคหู ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน
- เป็นกรรมการ องค์กร WW Hearing – The CBM / WHO Collaboration for Affordable Hearing Aids for Rural people.
- เป็นกรรมการบริหาร องค์กร Sound Hearing 2030 for Better Hearing for All in South East Asia Region – The WHO SEAR support Group.
- ได้รับรางวัล The Life Time Achievement Award for Exemplary Contribution in the field of Ear and Hearing Care จาก องค์กร Sound Hearing 2030.
- เป็นผู้ก่อตั้ง ASEAN Academy of Neuro-Oto-Audiology เพื่อพัฒนาวิชาการ โสตประสาทการได้ยินในประเทศอาเซี่ยน ปี 2548
- เป็นกรรมการ Asia Pacific Steering committee on Deafness
- เป็นประธานกรรมการ การประชุม เอเชีย แปชิฟิก เพื่อคนหูหนวกหูตึง ครั้งที่ 3 ปี 2537 และ ครั้งที่ 10 ปี 2552
รางวัลที่ได้รับ
- บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางด้านการแพทย์ ปี 2539 จาก สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- ศิษย์ศิริราชดีเด่น และเป็นแพทย์สตรีดีเด่น