เปรียบเทียบการจี้คลื่นความถี่วิทยุ vs เลเซอร์รักษานอนกรน

เปรียบเทียบการจี้คลื่นความถี่วิทยุ vs เลเซอร์รักษานอนกรน

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วิชญ์ บรรณหิรัญ

American Board of Sleep Medicine, Certified international sleep specialist


ปัจจุบันการใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency หรือ RF) และการใช้เลเซอร์ (Erbium-YAG laser) เริ่มเป็นที่นิยมในการนำมาใช้รักษานอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea หรือ OSA) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยรายงานอาจสงสัยว่า ควรใช้วิธีไหน บทความนี้จึงนำข้อดีและข้อเสียมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษา

 

การใช้คลื่นความถี่วิทยุ

การใช้เลเซอร์

ข้อบ่งชี้ในการรักษา

นอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ

นอนกรนธรรมดา

ตำแหน่งที่รักษาได้

ได้ทุกระดับ ทั้งจมูก เพดานอ่อน ลิ้น

ใช้ได้เฉพาะเพดานอ่อนและโคนลิ้น

ระยะเวลาในการทำ (ต่อครั้ง)

5-10 นาที

25-30 นาที

จำนวนครั้งในการทำ

1-2 ครั้ง

3-4 ครั้ง

ระยะเวลาในการทำ (รวม)

5-20 นาที

75-120 นาที

การใช้ยาชา

มีการพ่นยาชา และฉีดยาชา

ไม่ต้องฉีดยาชา

ค่าใช้จ่ายรวม

เริ่มต้นที่ 15000 บาท

เริ่มต้นที่ 30000 บาท

ผลการรักษา

มีรายงานการวิจัยรองรับจำนวนมาก

มีรายงานผลระยะยาวรองรับ

มีรายงานวิจัยรองรับยังไม่มาก

มีรายงานผลระยะยาวน้อย

ความเสี่ยง

มีความเจ็บ เลือดออก หรือบวมเล็กน้อย

มีความเจ็บน้อย ไม่มีเลือดออก

แนวทางการรักษานอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับ

  • ปัจจุบันนิยมใช้แนวทางการรักษาแบบเฉพาะบุคคล (personalized therapy) เนื่องจากมีการคำนึงถึงและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด
  • ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ (sleep specialist)
  • การเลือกวิธีรักษา พิจารณาจากผลตรวจ sleep test มาใช้ช่วยประเมิน ชนิด ลักษณะ ความรุนแรง และความเสี่ยง ของโรค ร่วมกับลักษณะของผู้ป่วย เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว ดัชนีมวลกาย อาการความง่วงผิดปกติ ฯลฯ
  • ก่อนรักษาผู้ป่วยควรทราบถึงข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธี เพื่อตัดสินใจร่วมกัน (participation)
  • การรักษานอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ยังมีอีกหลายวิธี อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกัน เช่น การลดน้ำหนัก สุขอนามัยการนอน การปรับท่านอน การบริหารช่องปากและคอหอย บางรายควรใข้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP), อุปกรณ์ในช่องปาก (oral appliances), การผ่าตัดทางเดินหายใจส่วนบนยาหรือทางเลือก เครื่องกระตุ้นประสาท และอื่น ๆ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะก่อน เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป

Last update: 21 มิถุนายน 2566